ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นจํานวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้น เชิง โดยเฉพาะเยาวชนที่เกิดมาในยุคของเทคโนโลยีและโตมากับการได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจํานวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือไม่จริง ทําให้หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วยการส่งต่อข่าวเท็จที่ได้รับ
การแชร์ข้อมูลเท็จทีได้รับมานั้นสร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งที่เกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูลหรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทําให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการทําผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดําเนินคดีและเสียค่าปรับต่าง ๆ มากกว่านั้น กระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือจะส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลและตกเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข้อมูลข่าวสารที่เราแชร์
ดังนั้น เยาวชนรุ่นใหม่จึงควรมีทักษะในการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร (Media and Information Literacy) มีวิจารณญาณแยกแยะได้ว่าข่าวใดเป็นข้อมูลจริง ข้อมูลไหนเป็นข้อมูลเท็จ มีทักษะในการวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องในการ แสดงความคิดเห็น รู้จักประเมิน และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสังคมประชาธิปไตยที่ผู้คนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและแสดงความคิดเห็นบนข้อเท็จจริงและด้วยเหตุและผล
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.
จัดทำโดย
นางสาวโซเฟีย สะลามะ นักศึกษาสหกิจศึกษา รหัสนักศึกษา 6120710250 สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี