ในโอกาสที่การเจรจาพูดคุยสันติภาพ (Peace Talk) บนโต๊ะเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่าง ฝ่ายรัฐไทย และฝ่าย BRN กำลังจะมีขึ้นอีกครั้งหนึ่งเร็ว ๆ นี้ มูลนิธิดิจิทัลเพื่อสันติภาพได้รวบรวมความคิดเห็นเเละข้อเสนอของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ / ปาตานี ว่าพวกเขาเห็นอย่างไรต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ต่อครอบครัวที่เขามีอยู่ ต่อบ้านเกิดเมืองนอนอันเป็นที่รักยิ่ง ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาต้องใช้ชีวิตไปอีกหลายสิบปี
รายงานฉบับนี้เป็นรายงานที่รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอของจากเวทีเยาวชนคนรุ่นใหม่ต่อสถานการณ์ โควิด-19 ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร และกระบวนการพูดคุยสันติสุขเพื่อเสนอต่อโต๊ะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ ซึ่งความคิดเห็นและข้อเสนอของเยาวชนคนรุ่นใหม่ต่อสถานการณ์ โควิด-19 ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร และกระบวนการพูดคุยสันติสุขเพื่อเสนอต่อโต๊ะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ นี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ วันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.00 น. ทาง Google Meet โดยมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ชายแดนใต้จำนวน 31 คน โครงการนี้จัดขึ้นโดยมูลนิธิดิจิทัลเพื่อสันติภาพ (Digital for Peace Foundation) และได้รับการสนับสนุนทางงบประมาณจัดทำโครงการจากคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3)
โครงการเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของเยาวชนคนรุ่นใหม่ต่อสถานการณ์ โควิด-19 ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร และกระบวนการพูดคุยสันติสุขเพื่อเสนอต่อโต๊ะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ชายแดนใต้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมต่อกระบวนการสันติภาพในพื้นที่อันจะนำมาสู่สันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เกิดขึ้นด้วยการมีส่วนร่วมของผู้คนทุกภาคส่วน และจะทำให้เกิดสันติภาพที่มุ่งหวังในอนาคต
ด้วยหัวใจอันบริสุทธิ์ที่มุ่งหวังให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง
มูลนิธิดิจิทัลเพื่อสันติภาพ (Digital4Peace Foundation)
คณะจัดทำรายงาน

ข้อเสนอของเยาวชนคนรุ่นใหม่ปาตานี/ชายแดนใต้ต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุขเพื่อเสนอต่อโต๊ะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้
(คำชี้แจง : ดิจิทัลเพื่อสันติภาพต้องการที่จะคงไว้ซึ่งความหมาย อารมณ์ ความรู้สึก ที่มีขึ้นระหว่างการสะท้อนถึงปัญหาและข้อเสนอของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่สั่งสมมาอย่างเนิ่นนาน ดังนั้นดิจิทัลเพื่อสันติภาพจึงไม่ลดทอน ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมข้อความรูปแบบของภาษาใดใด เพื่อสะท้อนถึงความดั้งเดิมของวจนะภาษาและอวจนะภาษาให้ได้มากที่สุด)